เมนู

ธรรมนั้น ๆ ย่อมมีกิจเป็นอันเดียวกัน กระทำให้แจ้งธรรมใด ๆ แล้ว เป็น
อันถูกต้องตามธรรมนั้นๆ แล้ว.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาอันรู้ยิ่งเป็นญาตัฏฐ-
ญาณ ปัญญาเครื่องกำหนดรู้เป็นติรณัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องละเป็น
ปริจจาคัฎฐญาณ ปัญญาเครื่องเจริญเป็นเอกรสัฏฐญาณ ปัญญาเครื่อง
กระทำให้แจ้งเป็นผัสสนัฏฐญาณ.


20 - 24. อรรถกถาญาณปัญจกนิทเทส


[185] พึงทราบวินิจฉัยในญาณปัญจกนิทเทสดังต่อไปนี้. ท่าน
ทำปุจฉาวิสัชนารวมเป็นอันเดียว เพราะมีความสัมพันธ์กันเป็นลำดับ
แห่งญาณ 5 เหล่านั้น.
บทว่า อภิญฺญาตา โหนฺติ - เป็นผู้รู้แจ้งธรรมแล้ว คือ เป็น
ผู้รู้ด้วยดี ด้วยสามารถรู้ลักษณะแห่งสภาวธรรม.
บทว่า ญาตา โหนฺติ - เป็นอันรู้ธรรมแล้ว คือ ชื่อว่า เป็น
อันรู้แล้ว เพราะรู้ตามสภาพ ด้วยสามารถแห่งญาตปริญญา. เป็นอันรู้
ธรรมเหล่านั้นแล้วด้วยญาณใด. ชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถว่ารู้ญาณ
นั้น. พึงทราบการเชื่อมว่า ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด. โดย
นัยแม้นี้พึงประกอบแม้ญาณที่เหลือ.

บทว่า ปริญฺญาตา โหนฺติ - เป็นอันกำหนดรู้แล้ว คือ เป็น
อันรู้โดยรอบด้วยสามารถแห่งสามัญลักษณะ.
บทว่า ตีริตา โหนฺติ - เป็นอันพิจารณาแล้ว คือ เข้าไปกำหนด
ให้ถึงพร้อมด้วยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งตีรณ
ปริญญา.
บทว่า ปหีนา โหนิติ - เป็นอันละได้แล้ว คือ เป็นอันละ
นิจสัญญาเป็นต้น ด้วยอนิจจานุปัสนาญาณเป็นต้น ตั้งแต่ภังคานุปัสนา-
ญาณ.
บทว่า ปริจฺจตฺตา โหนฺติ - เป็นอันสละแล้ว คือ เป็นอัน
ทอดทิ้ง ด้วยสามารถแห่งการละนั่นเอง.
บทว่า ภาวิตา โหนฺติ - เป็นอันเจริญแล้ว คือ เป็นอันเจริญ
แล้ว และอบรมแล้ว.
บทว่า เอกรสา โหนฺติ - มีรสเป็นอันเดียวกัน คือ มีกิจ
อย่างเดียวกัน ด้วยการให้สำเร็จกิจของตน และด้วยการละฝ่ายตรง
กันข้าม. หรือมีรสเป็นอันเดียวกัน ด้วยวิมุตติรส ด้วยการพ้นจาก
ธรรมเป็นฝ่ายข้าศึก.
บทว่า สจฺฉิกตา โหนฺติ - เป็นอันทำให้แจ้งแล้ว คือ เป็น
อันทำให้ประจักษ์ว่า ผลธรรม ด้วยสามารถการได้ นิพพานธรรม
ด้วยสามารถการแทงตลอด.

บทว่า ผสฺสิตา โหนฺติ - เป็นอันถูกต้องแล้ว คือ เป็นอัน
ถูกต้อง คือ ได้รับผลด้วยการถูกต้อง ด้วยการได้ และด้วยการถูกต้อง
ด้วยการแทงตลอด ท่านกล่าวญาณ 5 เหล่านี้ ด้วยสามารถสุตมยญาณ
แล้วในหนหลัง. ในที่นี้ท่านกล่าวด้วยสามารถยังกิจของตนให้สำเร็จ.
จบ อรรถกถาญาณปัญจกนิทเทส


ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส


[186] ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทา-
ญาณ ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญา
ในความต่างแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความ
ต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณอย่างไร ?
สัทธินทรีย์เป็นธรรม วีริยินทรีย์เป็นธรรม สตินทรีย์เป็น
ธรรม สมาธินทรีย์เป็นธรรม ปัญญินทรีย์เป็นธรรม สัทธินทรีย์เป็น
ธรรมอย่างหนึ่ง วีริยินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สตินทรีย์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง สมาธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ปัญญินทรีย์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้
เฉพาะธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ.